มากระตุ้นลูกน้อยให้แข็งแรงและบำรุงสมองตั้งแต่ในครรภ์กันเถอะ
เริ่มจากอะไร?
สิ่งที่สำคัญที่จะให้ลูกน้อยเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งเรื่องการเรียน การทำงานการใช้ชีวิต ฯลฯ จะประกอบด้วยหลายๆปัจจัย ไม่ว่าเรื่องสภาพแวดล้อมที่ได้รับ หรือแม้แต่ อาหารการกินตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ที่คุณแม่ได้เลือกทาน ว่าอาหารเหล่านั้นมีคุณค่าของสารอาหารมากน้อยแค่ไหน ...
ทั้งนี้หลักการและวิธีปฏิบัติที่สำคัญที่คุณแม่ควรทำเพื่อกระตุ้นภาวะร่างกายและสมองของลูกน้อยคือ
- อารมณ์ดีอยู่เสมอ
คุณแม่ที่สภาวะจิตใจ อารมณ์ดีอยู่เสมอ ทางการแพทย์ระบุว่า ในขณะที่อารมณ์ดีมีความสุข ร่ากายจะมีการหลั่งสารแห่งความสุขที่ชื่อว่า เอนดอร์ฟิน (endorphin)ออกมา และสารดังกล่าวจะผ่านไปยังสายสะดือ สู่เจ้าตัวน้อย ทำให้มีพัฒนาการที่ทั้ง สมอง (IQ) และอารมณ์ (EQ) - การฟังเพลง
โดยระบบการรับฟังของลูกน้อยระหว่างอยู่ในครรภ์นั้น จะเริ่มทำงานตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 5 เดือน การใช้เสียงกระตุ้นจะทำให้เครือข่ายใยประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับการได้ยินของลูกมีพัฒนาการดีขึ้น เสียงที่ควรใช้ในการกระตุ้นคือ เสียงเพลง และเพลงที่ใช้ควรเป็นเพลงที่มีความไพเราะ จังหวังเบาๆ วิธีการเปืดให้ฟังคือควรห่างจากท้องประมาณ 1 ฟุต และเปิดเสียงดังพอประมาณ โดยลูกน้อยก็จะได้รับเสียงเพลง และคลื่นเสียง จะไปกระตุ้นให้ระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินมีการพัฒนาระบบการทำงานได้เร็วขึ้น ทำให้เมื่อลูกคลอดออกมา มีความสามารถในการจัดลำดับความคิดในสมอง รู้สึกผ่อนคลาย และจดจำสิ่งต่างๆได้ดี - การพูดคุยกับลูกน้อย
การพูดคุยเรื่องต่างๆกับลูกในครรภ์บ่อยๆ จะช่วยให้ระบบประสาทและสมองที่ควบคุมการได้ยินมีพัฒนาการที่ดีและเตรียมพร้อมสำหรับการได้ยินหลังคลอด คุณแม่ควรพูดกับลูกบ่อยๆและพูด ด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล ประโยคซ้ำๆ - การลูบหน้าท้อง
การลูบหน้าท้องจะกระตุ้นระบบประสาทและสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกของลูกให้มีพัฒนาการดีขึ้น การลูบท้องควรลูบเป็นวงกลม จะจากบนลงล่างหรือจากล่างขึ้นบน บริเวณไหนก่อนก็ได้ครับ - การส่องไฟที่หน้าท้อง
ลูกน้อยในครรภ์สามารถกระพริบตาเพื่อตอบสนองต่อแสงไฟที่กระตุ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 7 เดือน การส่องไฟที่หน้าท้องจะทำให้เซลล์สมองและเส้นประสาทส่วนรับภาพและการมองเห็นมีพัฒนาดีขึ้นและเตรียมพร้อมสำหรับการมองเห็นภายหลังคลอด การส่องไฟที่หน้าท้องไม่จำเป็นต้องไปเล็งว่าแสงจะเข้าตรงกับนัยน์ตาของลูกหรือเปล่าหรอกครับ คุณแม่บางคนมาขอให้หมอตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อหาตำแหน่งของนัยน์ตาลูกก็มี ผมว่ามันออกจะมากเกินไปครับ เอาแค่ให้ลูกรู้ว่ามีแสงส่องเข้ามาก็น่าจะพอแล้วละครับ - ออกกำลังกาย
ขณะตั้งครรภ์ หากคุณแม้มีการออกกำลังกาย ลูกที่อยู่ในครรภ์ก็จะมีการเคลื่อนไหวตามไปด้วย และผิวกายของลูกจะไปกระแทกกับผนังด้านในของมดลูก ผลดังกล่าวจะกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสของลูกให้พัฒนาดี ทั้งนี้การออกกำลังกายควรเป็นไปท่าที่เหมาะกับการตั้งครรภ์ด้วย - เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม
หนึ่งในข้อสำคัญที่คุณแม่ควรปฏิบัติ เพราะเนื้อสมองของลูกน้อยในครรภ์มีองค์ประกอบเป็นไขมันโดยเฉพาะไขมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 60 กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ความสำคัญต่อพัฒนาการสมองของลูกน้อยในครรภ์คือ กรดไขมันที่มีชื่อว่า ดีเอ็ช เอ (DHA) ซึ่งมีมากในอาหารปลาพวกปลาทะเล และสาหร่ายทะเล และ เออาร์เอ (ARA) ซึ่งมีมากในอาหารพวกน้ำมันพืช เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเม็ดทานตะวัน และน้ำมันข้างโพด การเลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารดังกล่าวให้เพียงพอจะทำให้ลูกในครรภ์ได้รับวัตถุดิบคุณภาพดีในการสร้างเนื้อสมองและระบบเส้นใยประสาทให้มีคุณภาพ
...ส่วนในกรณีอาหารเสริมหรือสมุนไพรบำรุงครรภ์ควรทานตามหมอแนะนำหรือผลิตภัณฑ์ที่จะทานควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือ มีทะเบียนยาที่ออกให้โดย อย. เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อย
จับซาไท้เป้า สมุนไพรจีน ที่มีมากว่าพันปี ก็เป็นตัวช่วยดูแลครรภ์ที่นิยมมากในตอนนี้ โดยตามตำราจีนจะระบุถึงเรื่อง การดูแลสุขภาพครรภ์ให้แข็งแรง(โดยถ้าครรภ์แข็งแรงเด็กก็จะแข็งแรงตามไปด้วย) ลดอาการอ่อนเพลีย ปวดเกร็งท้อง และคุณแม่คลอดง่าย มีกำลังเบ่ง เด็กสะอาด ผิวดี ไม่เป็นไข
จับซาไท้เป้าจึงเป็นสมุนไพรจีนบำรุงครรภ์ ที่คุณแม่ทานกันกว่าทั่วโลกและนิยมกันมากในไทย จะเห็นได้จากคุณแม่ๆในวงการบันเทิงหลายท่านที่ท้องใหญ่มาก แต่ก็ยังรับงานอยู่โดยไม่มีอุปสรรคใดๆ
“จับซาไท้เป้าชนิดแคปซูล” ภายใต้แบรนด์ สือเว่ยปู่เจียวหนัง ประกอบด้วยสมุนไพรจีน100% เกรดA ทุกตัว และเป็นแบรนด์แรกที่มีทะเบียนยา(เลขที่ G488/58) พร้อมผ่านการฆ่าเชื้อจากหน่วยงานภาครัฐ พร้อมผลิตจากโรงงานมาตรฐานระดับ ISO และ GMP จึงมั่นใจได้ว่านี่คือการคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุด ก่อนถึงคุณแม่และลูกน้อย
จับซาไท้เป้าชนิดแคปซูล ยอดขายอันดับ1 พร้อมรับส่วนลดพิเศษสูงสุดกว่า 36% และส่งฟรีถึงบ้าน สามารถสอบถามเพิ่มเติมที่
Tel: 081-307-5206
Line: pang_earsair
Mail: earsaireasy@gmail.com
ขอบคุณข้อมูลหลักจาก รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
(เรียบเรียงโดย ร้านขายยาเอี๊ยะแซ)